ผลผลิต

ผักอินทรีย์ ฟ้าประทาน ฟาร์ม
Organic Veggie Ozone

ฟ้าประทาน ฟาร์ม ได้เริ่มโครงการ “ผักอินทรีย์ : Veggie Ozone” โดยปลูกผักสลัดหลายชนิดได้แก่ กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค เรดคอรัล บัตเตอร์เฮด ผักคอส เบบี้คอส และฟิลเล่ย์ โดยเรียกผักเหล่านี้ว่า “Veggie Ozone” เริ่มแรกใช้กระบวนการผลิตตามระบบ GAP และพัฒนาเป็นเกษตรอินทรีย์ โดยใช้เมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ สารปรับปรุงดิน จากกรมพัฒนาที่ดินและใช้สารสกัดชีวภาพป้องกันกำจัดศัตรูพืช จึงเป็นผักที่ปลอดภัยจากสารเคมี และได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตรให้เป็น Organic Thailand มาตั้งแต่ปี 2555 จนถึงปัจจุบัน

เพื่อขยายผลความสำเร็จของโครงการผักอินทรีย์ไปสู่ เกษตรกรให้มากขึ้น ในปี พ.ศ.2555 สมาคมพืชสวนแห่ง ประเทศไทย ได้จัดทำโครงการขอรับการสนับสนุนงบ ประมาณผ่านกรมส่งเสริมการเกษตร จากกองทุนปรับ โครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ (FTA) ร่วมกับภาคีเครือข่ายเกษตรกรรายย่อย อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 103 ราย และได้รับงบประมาณรวม 12,514,100 บาท

ฟ้าประทาน ฟาร์ม ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกษ. 9000 (Organic Agriculture TAS 9000) จากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รหัสรับรอง TAS: 04635

มาตรฐานผักสลัดของฟ้าประทาน ฟาร์ม

กรีนโอ๊ค ( Green Oak Lettuce)
ลักษณะ : สลัดกรีนโอ๊ค ใบมีเขียวอ่อน หรือเขียวเข้ม ขอบใบหยิก
ขนาด : ตามฤดูกาล
น้ำหนัก : 10-30 ต้น/กก.

เรดโอ๊ค ( Red Oak Lettuce)
ลักษณะ : ใบมีแดงเข้ม โคนใบมีสีเขียวอ่อน ปลายใบมีสีแดงอมม่วง ใบหยิก
ขนาด : ตามฤดูกาล
น้ำหนัก : 10-30 ต้น/กก

เรดคอรัล (Red Coral Lettuce)
ลักษณะ : ปลายใบมีสีแดงอมม่วงขอบใบหยิกแหลม โคนใบมีสีเขียวอ่อน
ขนาด :ตามฤดูกาล
น้ำหนัก : 10-30 ต้น/กก.

ฟิลเล่ย์ (Fille Iceberg)
ลักษณะ : ใบมีสีเขียวค่อนข้างหยิกแหลม
ขนาด : ตามฤดูกาล
น้ำหนัก : 10-30 ต้น/กก.

บัตเตอร์เฮด (Butterhead Lettuce)
ลักษณะ : ใบมีสีเขียว ค่อนข้างกลม
ขนาด : ตามฤดูกาล
น้ำหนัก : 10-30 ต้น/กก.

คอส (Cos)
ลักษณะ : ใบมีสีเขียวค่อนข้างใหญ่และยาว
ขนาด : ตามฤดูกาล
น้ำหนัก : 10-30 ต้น/กก.

เบบี้คอส (Baby cos)
ลักษณะ :ใบมีสีเขียว ค่อนข้างสั้นและเล็ก
ขนาด : ตามฤดูกาล
น้ำหนัก : 10-30 ต้น/กก.

ลักษณะพื้นที่ และ อากาศ ของอำเภอวังน้ำเขียว เหมาะ สำหรับการปลูกผักเมืองหนาวได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะ ผักอินทรีย์อันได้แก่ ผักสลัดหลากหลายชนิด ได้มีการ ปลูกมาตั้งแต่ปี 2540 ด้วยการส่งเสริมของสำนักงาน ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)ที่ได้ส่งเสริมให้ เกษตรกรปลูกผักอินทรีย์ และจัดตั้งเป็นนิคมสหกรณ์ ผู้ปลูกผักไร้สาร มาตั้งแต่ปี 2542

การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์
จากแหล่งผลิตที่มีคุณภาพ เช่น เมล็ดพันธุ์จากสำนักฟาร์ม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หรือจากบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ที่มีชื่อเสียงและได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร มีเปอร์เซ็นการงอกสูง และมีลักษณะตรงตามสายพันธุ์

การเพาะเมล็ดพันธุ์
ทำการเพาะกล้าก่อน แล้วจึงย้ายกล้าที่แข็งแรงลงปลูกในแปลง เพราะประหยัดเมล็ดพันธุ์ เมล็ดงอกสม่ำเสมอ การดูแลง่ายและสะดวก โดยการเพาะเมล็ดพันธุ์ จะเพาะในโรงเพาะของศูนย์เรียนรู้ฟ้าประทานฟาร์ม โดยใช้วัสดุเพาะกล้าที่มีคุณภาพสูงและปลอดภัย โดยมีขั้นตอนดังนี้

  • นำเมล็ดไปเพาะในถาดเพาะกล้าขนาด 200 หลุม โดยนำดินสำหรับเพาะกล้า ใส่ถาดหลุมให้เต็มพอดี เพาะกล้าหลุมละ 1 เมล็ด และโรยดินเพาะกลบบาง ๆ
  • รดน้ำให้ชุ่มปิดถาดเพาะด้วยกระดาษที่เปียก แล้ววางในที่ร่มประมาณ 3-4 วัน
  • รักษาความชื้นในดินให้สม่ำเสมอโดยต้นกล้าจะอยู่ในถาด 15-20 วัน
  • ต้องได้รับแสงแดดอย่างน้อยครึ่งวันก่อนการย้ายปลูก

การเตรียมแปลงปลูกผัก
การเตรียมแปลงปลูกผัก ไถดะลึก 1 ครั้ง แล้วตากดินไว้ 7-10 วัน พรวนดินด้วยรถไถเดินตาม เพื่อตีดินให้ละเอียด ร่วนซุย โปร่ง เหมาะแก่การเจริญเติบโตของรากผัก ยกแปลงให้สูงจากพื้นดินประมาณ 30-50 เซนติเมตร หว่านปูนขาว เพื่อปรับสภาพดินใส่มูลสัตว์ ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก ฉีดพ่นด้วยสารชีวภาพ แล้วคลุมแปลงด้วยฟาง

การย้ายปลูก
เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ 15-20 วัน ย้ายปลูกลงแปลงที่เตรียมไว้ โดยมีระบบหมุนเวียนแปลงปลูกพืชในแต่ละรอบปลูกพืชต่างชนิดกัน เพื่อป้องกันการระบาดของโรคและเเมลงศัตรูพืช

ขั้นตอนการดูแลรักษา จนถึงการเก็บเกี่ยว
การให้น้ำโตยระบบมินิสปริงเกลอร์ ผักเป็นพืชอวบน้ำ จึงต้องการน้ำตลอดเวลา ของการเจริญเติบโต จนถึงกำหนดเก็บเกี่ยว ถ้าขาดน้ำผักก็จะเหี่ยวเฉาอย่างรวดเร็ว จะชะงักการเจริญเติบโต ทำให้คุณภาพและปริมาณการผลิตลดลง

  • การให้ปุ๋ย ได้แก่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยชีวภาพ ฉีดพ่นทุก 7 วัน
  • การป้องกันกำจัดศัตรูพืช ด้วยการสำรวจ หากพบศัตรูพืช ใช้วิธี จับเก็บไปทำลายเช่น หอย หนอน และการใช้กับดักกาวเหนียว สีเหลืองล่อแมลง
  • การป้องกันกำจัดศัตรูพืชวิธีทางชีวภาพ ได้แก่การใช้อินทรีย์ต่างๆ เช่นใช้สาร BT, BH หรือการใช้สาร ไตรโครโดมา

การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและควบคุมคุณภาพ
ผักสลัดจะถูกตัดจากแปลงตามอายุของสลัด แต่ละชนิด เพื่อให้ได้ ผลผลิตที่มีคุณค่าทางอาหาร รสชาติและสีสัน โดยจะถูกส่งไปที่ห้องตัดแต่ง และบรรจุ (Packing House) เป็นห้องปิดปรับอากาศ ซึ่งเป็นอาคารในบริเวณเดียวกัน กับแหล่งปลูกผัก ซึ่งการตัดแต่งผักจะ ตัดแต่งผัก ส่วนที่ไม่มีคุณภาพออกไปหลังจากนั้น จะได้รับการตรวจสอบจากฝ่ายควบคุมคุณภาพ ส่วนที่ได้คุณภาพมาตรฐาน จะถูกนำไปบรรจุในบรรจุภัณฑ์ เพื่อส่งไปจำหน่าย ยังห้างสรรพสินค้า ในกรุงเทพฯ โดยรถห้องเย็น

คุณประโยชน์ของผักสลัด

  • กรีนโอ๊ค (Green Oak Lettuce)
    ช่วยสร้างเม็ดเลือด บำรุงสายตา บำรุงเส้นผม บำรุงประสาทและกล้ามเนื้อ
  • เรดโอ๊ค (Red Oak Lettuce)
    มีวิตามินซี ธาตุเหล็กและไฟเบอร์สูง ช่วยกำจัดไขมันและอนุมูลอิสระ
  • คอส (Cos) และเบบี้คอส (Baby Cos)
    มีโปแตสเซียม และกรดโฟเลทสูง มีกากใยมาก ช่วยระบบขับถ่าย ขับของเสียออกจากลำไส้
  • เรดคอรัล (Red Coral Lettuce)
    มีวิตามินเอและซีสูง มีไฟเบอร์สูงช่วยการขับถ่ายและกำจัดไขมัน ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้
  • ฟิลเล่ย์ไอซ์เบิร์ก (Frillice Iceberg)
    ช่วยสร้างเม็ดเลือด มีวิตามินซีสูง ช่วยป้องกันโรคไข่เลือดออก และสร้างภูมิคุ้มกัน
  • บัตเตอร์เฮด (Butter Head Lettuce)
    อุดมไปด้วยวิตามินเอ โปแตสเซียมและกรดโพเลท