ความเป็นมา แรงบันดาลใจ

“ฟ้าประทาน ฟาร์ม”

ศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาการเกษตร
อย่างยั่งยืน อำเภอวังนํ้าเขียว
จังหวัดนครราชสีมา

ดินแดนแห่งสายนํ้า
สายลม แสงแดด
ทะเลหมอก ขอบฟ้ากว้าง

พื้นที่ประมาณ 59 ไร่ บริเวณหมู่ที่ 7 ตำบลวังนํ้าเขียว อำเภอวังนํ้าเขียว จังหวัดนครราชสีมา เป็นพื้นที่ ส.ป.ก. ที่เจ้าของผู้ได้รับจัดสรรมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 ใช้ปลูก พืชไร่ โดยเฉพาะ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง และ อ้อย เหมือนกับเกษตรกรอนื่ ๆ ของอำเภอวังน้ำเขียว ซึ่งนับวันพืชเหล่านี้ มีแต่จะทำให้สภาพดินเสื่อมโทรม มีการใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมี เป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสภาพแวด ล้อม ผลตอบแทนที่ได้รับไม่คุ้มค่ากับการลงทุนอันเป็นสาเหตุ สำคัญที่ทำให้เกษตรกรผู้ได้รับการจัดสรรที่ดินของ ส.ป.ก. ต้องสูญเสียที่ดินหรือขายให้แก่นายทุนไปในที่สุดทำให้เกษตร กรซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินต้องกลายเป็นผู้เช่าที่ดิน

ผู้ครอบครองที่ดินแปลงนี้ จึงมีแนวคิดต้องการเปลี่ยน แปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินจากการปลูกพืชไร่มาทำการ เกษตรเชิงอนุรักษ์ โดยได้ปรึกษากับ คุณลักขณา นะวิโรจน์ ซึ่งเป็นเพื่อนกับเจ้าของที่ดินให้ขอความอนุเคราะห์จาก คุณอนันต์ ดาโลดมนายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทยอดีต อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร และอดีตอธิบดีกรมวิชาการ เกษตร ให้ช่วยไปดูสภาพพื้นที่

ดังนั้น ในเดือนเมษายน 2552 คุณอนันต์ ดาโลดมได้เดินทางไปที่อำเภอวังนํ้าเขียวได้สัมผัส สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ของอำเภอวังนํ้าเขียว ที่ล้อมรอบ ด้วยเขาใหญ่ เขาแผงม้า เขาภูหลวง และเขาสลัดได มีสภาพ พื้นที่ลาดชัน ลดหลั่นเป็นเชิงชั้น สูงจากระดับนํ้าทะเล 300-700 เมตร บางพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม สภาพอากาศเย็น สบาย ปกคลุมด้วยทะเลหมอกอันสวยงาม ซึ่งพื้นที่ดังกล่าว เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชได้เกือบทุกชนิด ทั้งพืชไร่ ไม้ผล พืชผัก เห็ด และไม้ดอกไม้ประดับ โดยเฉพาะ พืชผัก และไม้ดอก นั้น สามารถปลูกผักเมืองหนาว และไม้ดอกเมืองหนาว ได้อย่างเหมาะสม

คุณอนันต์ ดาโลดม จึงได้แนะนำให้เปลี่ยนกิจกรรมการเกษตรในพื้นที่ดังกล่าว จากการปลูกพืชไร่มาเป็นการปลูกพืชสวน และไม้ยืนต้น ที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ อันจะส่งผลให้มีรายได้ในระยะยาวต่อเนื่อง  และเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน อันเป็นแนวทางของ “การพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืน” คุณลักขณา นะวิโรจน์ เจ้าของแนวคิดที่ต้องการเปลี่ยนให้พื้นที่นี้เป็นการทำเกษตรเชิงอนุรักษ์ เห็นด้วยกับคำแนะนำดังกล่าว  จึงเสนอให้ทำเป็น “โครงการนำร่อง” เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของเกษตรกร และผู้สนใจ ที่สามารถนำสิ่งที่ได้พบเห็นจากที่นี่ไปปฏิบัติ หรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่ของตนเองให้เป็นการทำการเกษตรที่ยั่งยืนต่อไป

ผลสำเร็จจากการเริ่มต้น “โครงการนำร่อง” ไม่ว่าจะเป็นการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ การปลูกกาแฟ พืชผัก และไม้ผล หลากหลายชนิด ราวกับเป็นสิ่งที่ฟ้าเบื้องบนประทานมาให้ เมื่อคุณลักขณา นะวิโรจน์ อยากให้มีชื่อเรียกพื้นที่ที่จะทำการเกษตรแบบผสมผสานเชิงอนุรักษ์แห่งนี้ คุณนงลักษณ์ ภัทรประสิทธิ์ คุณแม่ของคุณลักขณา จึงตั้งชื่อให้ว่า “ฟ้าประทาน” อันกลายมาเป็น “ฟ้าประทาน ฟาร์ม” ศูนย์เรียนรู้เพื่อพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2553 เป็นต้นมา พร้อมได้เกิดคำขวัญ และบทกลอนอันเกิดจากจินตนาการของ คุณลักขณา นะวิโรจน์ จากสภาพภูมิประเทศ และสิ่งแวดล้อม อันสวยงามของอำเภอวังนํ้าเขียว ที่ฟ้าประทานมาให้