ผลผลิต

โครงการ
“กล้วยหอมทอง ฟ้าประทาน ฟาร์ม”

ฟ้าประทาน ฟาร์ม ได้เริ่มทดทองปลูกกล้วยหอมทอง ตั้งแต่ปี 2558 โดยใช้หน่อกล้วยจากเกษตรกรที่เคยปลูกกล้วยในอำเภอวังน้ำเขียว มาเป็นต้นพันธุ์ แต่ปรากฏว่า ไม่ประสบความสำเร็จอาจจะเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ยังไม่มีประสบการณ์ และต้นพันธุ์ที่ได้มาไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร แต่ก็มีความเชื่อมั่นว่า อำเภอวังน้ำเขียวจะสามารถปลูกกล้วยหอมทองได้อย่างแน่นอน เพราะได้มีเกษตรกรที่ได้ทำสัญญากับพ่อค้าจากประเทศไต้หวันได้นำพันธุ์กล้วยจากประเทศไต้หวัน มาทดลองปลูกในพื้นที่ประมาณ 20 ไร่ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี

ผลผลิตกล้วยที่ออกมาจากต้นพันธุ์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในรุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 พบว่าได้กล้วยหอมทอง ที่ออกมาจากต้นพันธุ์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีผลดีเกินคาด คือ

  • ในกล้วยหอมทอง 1 ต้น 1 เครือ จะได้กล้วยเครือละ 5 หวี ทุกเครือ
  • เฉลี่ยจำนวนผลต่อหวี ประมาณ 14-16 ผล
  • ขนาดของผลใหญ่กว่า อัตราเฉลี่ยของกล้วยหอมทองทั่วๆไป
  • น้ำหนักเฉลี่ยต่อหวีประมาณ 3 กิโลกรัมขึ้นไป
  • รสชาติในการบริโภค กลิ่นคือกลิ่นของกล้วยหอม โดยแท้ มีความเหนียวนุ่มตามมาตรฐานของกล้วยหอมทอง

จากคุณสมบัติทั้งเรื่องของขนาดของผล รสชาติในการบริโภค ทำให้กล้วยหอมทองที่ส่งไปจำหน่ายใน Modern Trade เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ทำให้ปริมาณการผลิตจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อดังกล่าว มีไม่พอ ดังนั้นในปี 2562 ฟ้าประทาน ฟาร์ม จึงได้ขยายปริมาณการปลูกกล้วยหอมทองเพิ่มขึ้นอีก 20,000 ต้นเพื่อให้ได้ผลผลิตออกสู่ท้องตลาดและสู่ผู้บริโภคอย่างสม่ำเสมอทุกๆ สัปดาห์ นอกเหนือจากคุณภาพและน้ำหนักของกล้วยหอมทองที่ดีเป็นพิเศษแล้ว ฟ้าประทาน ฟาร์ม ยังได้รับมาตรฐานการผลิต GAP จากกรมวิชาการเกษตร ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ในความปลอดภัยของผลผลิต

กล้วยหอมทอง
จากคุณสมบัติทั้งเรื่องของขนาดของผล รสชาติในการบริโภค ทำให้กล้วยหอมทองที่ส่งไปจำหน่ายใน Modern Trade เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ทำให้ปริมาณการผลิตจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อดังกล่าว มีไม่พอ ดังนั้นในปี 2562 ฟ้าประทาน ฟาร์ม จึงได้ขยายปริมาณการปลูกกล้วยหอมทองเพิ่มขึ้นอีก 20,000 ต้นเพื่อให้ได้ผลผลิตออกสู่ท้องตลาดและสู่ผู้บริโภคอย่างสม่ำเสมอทุกๆ สัปดาห์ นอกเหนือจากคุณภาพและน้ำหนักของกล้วยหอมทองที่ดีเป็นพิเศษแล้ว ฟ้าประทาน ฟาร์ม ยังได้รับมาตรฐานการผลิต GAP จากกรมวิชาการเกษตร ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ในความปลอดภัยของผลผลิต

มาตรฐานการผลิต
ฟ้าประทานฟาร์ม ผลิตกล้วยหอมทองตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice : GAP) แนวทางในการทำการเกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี และปลอดภัยตามมาตรฐานที่กำหนด โดยขบวนการผลิต จะต้องปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภคปราศจากการปนเปื้อนของสารเคมีไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ได้ผลผลิตสูงคุ้มค่าการลงทุน มีการใช้ก่อให้เกิดความยั่งยืนทางการเกษตรสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม

มาตรฐานกล้วยหอมทองฟ้าประทานฟาร์ม
ผลกลม ยาว เปลือกหนา สีเหลือง เนื้อกล้วยละเอียด สีครีม รสชาติหวาน มีกลิ่นหวาน
ขนาดหวี : 14-18 ลูก/หวี
น้ำหนักหวี:

  • เกรด Jumbo น้ำหนักมากกว่า 4.5 กก./หวี
  • เกรด AA น้ำหนักมากกว่า 3.5-4.4 กก./หวี
  • เกรด A น้ำหนักมากกว่า 3-3.4 กก./หวี
  • เกรด B น้ำหนักน้อยกว่า 3 กก./หวี

วิธีการผลิตกล้วยหอมทอง

  • ปลูกโดยหน่อกล้วยที่ผลิตจากเนื้อเยื่อ โดยมีขนาดของต้นเนื้อเยื่อ 15-20 เซนติเมตร โดยได้พันธุ์มาจาก ศูนย์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จังหวัดอุดรธานี นำไปปลูกที่อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา จำนวนทั้งสิ้น 2,800 ต้น
  • ปลูกโดยหน่อกล้วยพันธุ์ปทุมธานี คัดเลือกแปลงแม่พันธุ์ที่ให้ผลผลิต และคุณภาพสูงจากหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี และคัดเลือกหน่อกล้วยจากแปลงที่คัดเลือกแล้ว นำไปปลูกที่อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 20,000 ต้น

การเตรียมแปลงปลูก ระบบน้ำและการปลูกกล้วยหอมทอง
โดยการไถยกร่องแต่ปลูกกล้วยในร่อง และวางระบบน้ำสปริงเกอร์ ขุดหลุมลึก 50 เซนติเมตร กว้าง 50 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างต้น 2 เมตร และระยะห่างระหว่างแถว 2 เมตร เมื่อขุดหลุมปลูกเรียบร้อยแล้วนำมูลวัว(ปุ๋ยคอก / มูลสัตว์)มาใส่ในหลุมพอประมาณ นำหน่อกล้วยหอมที่คัดเลือกมาแล้ววางในหลุมปลูกกลบด้วยดินที่ร่วนซุย แล้วรดน้ำให้ชุ่ม ใส่ปูนขาวเพื่อป้องกันโรค

การบำรุงรักษา การให้น้ำ ให้ปุ๋ย และการป้องกันศัตรูพืช

  • ใส่ปุ๋ยทุกเดือน ด้วยสูตร 46-0-0 หรือ 25-7-7 หรือ 16-16-16 หรือ 13-13-21 ตามอายุการเจริญเติบโตของต้นกล้วย
  • การแต่งหน่อ หลังจากปลูกกล้วยประมาณ 3-5 เดือน แต่งหน่อเพื่อให้ต้นแม่มีความสมบูรณ์ ตัดแต่งทางใบเมื่อกล้วยมีอายุ 3-5 เดือนตัดเฉพาะใบที่หมดอายุการใช้งานโดยเหลือไว้ไม่ตำกว่า 9 ใบ
  • การออกปลี เมื่อปลูกกล้วยไปแล้วประมาณ 6-8 เดือนกล้วยจะมีลำต้นขนาดใหญ่พร้อมออกปลีโดยจะแตกใบยอดสุดท้าย ซึ่งมีขนาดสั้นและเล็กมากชูก้านใบชี้ขึ้นท้องฟ้า เรียกว่า ” ใบธง” หลังจากนั้นกล้วยจะแทงปลี กล้วยสีแดงออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน และกาบปลีจะบานจนสุดหวี
  • การตัดปลี หลังจากกล้วยออกปลีระยะหนึ่ง หวีที่อยู่ปลายเครือจะเริ่มเล็กลงและผลจะสั้นขนาดของผลไม่สม่ำเสมอกันซึ่งเรียกว่า “หวีตีนเต่า” จะตัดแต่งปลายเครือถัดจากหวีตีนเต่า 3 ชั้นเพื่อไว้สำหรับปลายเครือเมื่อถึงช่วงเวลาเก็บเกี่ยว
  • การค้ำยันต้น ใช้ไม้ค้ำยันหรือดามกล้วยทุกต้นที่ออกปลีแล้ว เพื่อป้องกันลำต้นล้ม และตรวจดูการค้ำยันให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง
  • การห่อกล้วย เพื่อดูแลผิวกล้วยไม่ให้เป็นรอย

การเก็บเกี่ยว และการคัดแยก
พนักงานฝ่ายสวน จะตรวจตราคุณภาพและความสุกแก่ของเครือกล้วย เป็นระยะเมื่อความสุกแก่เหมาะสมก็จะตัดกล้วยออกมาจากแปลง และนำมาแบ่งหวีในน้ำ เพื่อทุ่นน้ำหนัก และจุ่มในอ่างน้ำผสมน้ำยา อีทีฟอน เพื่อให้กล้วยสุกได้ตามเวลาที่กำหนด และทำความสะอาด จะวางผึ่งให้แห้งเพื่อคัดเกรด คัดขนาด และสภาพผิว โดยพนักงานฝ่ายควบคุมคุณภาพ QC ทุกหวี ตามมาตรฐานของลูกค้า และขนส่งโดยรถห้องเย็นไปยังจุดรับสินค้าของลูกค้า

คุณประโยชน์ของกล้วยหอมทอง
กล้วยหอมทองและอุดมไปด้วยแร่ธาตุและสารอาหารต่างๆ และให้พลังงานมากถึง 100 กิโลแคลลอรี่ต่อหน่วย เพราะในกล้วยหอมทองมีน้ำตาล อยู่ 3 ชนิด ได้แก่ ซูโครส ฟรุกโตส และกรูโคส รวมทั้งเส้นใยอาหาร ดังนั้น เราจะได้รับพลังงาน ที่สามารถนำไปใช้ได้ทันที เพียงกล้วยหอมทอง 2 ผล ก็ให้พลังงานได้นานถึง 90 นาที และยังมี สรรพคุณอื่นๆ ได้แก่

  • คลายเครียด กล้วยหอมทองมีสาร Tryptophan เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกาย ที่ร่างกายเปลี่ยนเป็น Serotonin ซึ่งเป็นสารกระตุ้นทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์สดใสและมีความสุข
  • บำรุงระบบประสาท วิตามินบี ในกล้วยหอมทองจะช่วยบำรุงระบบประสาทให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสมดุลมากขึ้น
  • เพิ่มพลังสมอง สารอาหารที่อยู่ในกล้วยหอมทองสามารถกระตุ้นความตื่นตัวให้กับสมองได้ การทานกล้วยหอมทองในช่วงเช้าช่วยให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทานในช่วงกลางวันจะทำให้รู้สึกสดชื่นและตื่นตัว
  • ลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ กล้วยหอมทองมีใยอาหารมากจึงช่วยให้ลำไส้เล็กย่อยอาหารได้ดีขึ้น และช่วยเคลือบกระเพาะอาหารไม่ให้เกิดแผลในกระเพาะ ลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง และช่วยลดท้องผูก